อะเลคเซย์ อันโตนอฟ
อะเลคเซย์ อันโตนอฟ

อะเลคเซย์ อันโตนอฟ

อะเลคเซย์ อีนโนเคนต์เยวิช อันโตนอฟ (รัสเซีย: Алексе́й Инноке́нтьевич Анто́нов) เป็นนายพลในกองทัพโซเวียต เขาได้รับเครื่องอิสริยาภรณ์แห่งชัยสำหรับความพยายามของเขาในสงครามโลกครั้งที่สองอันโตนอฟเกิดในครอบครัวเชื้อสาย Kryashen[1][2] ที่เมืองกรอดโน ในฐานะบุตรของเจ้าหน้าที่หหารปืนใหญ่ของกองทัพจักรวรรดิรัสเซีย[3] อันโตนอฟสำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยทหารฟรุนเซใน ค.ศ. 1921 และเข้าร่วมกับกองทัพแดงในช่วงสงครามกลางเมืองรัสเซีย เขากลายเป็นครูสอนที่วิทยาลัยทหารฟรุนเซใน ค.ศ. 1938ใน ค.ศ. 1941 อันโตนอฟกลายเป็นเสนาธิการแนวรบตะวันตกเฉียงใต้และแนวรบใต้ของโซเวียต ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1942 เขาได้ดำรงตำแหน่งรองเสนาธิการทั่วไปของกองทัพโซเวียตรวมและหัวหน้าฝ่ายปฏิบัติการซึ่งมีบทบาทสำคัญในกองบัญชาการสามัญของสหภาพโซเวียต (Stavka)[4] ในความเป็นจริงแล้ว อันโตนอฟเป็นผู้นำที่มีประสิทธิภาพของหัวหน้าเจ้าหน้าที่เสนาธิการโซเวียตตั้งแต่เสนาธิการอะเลคซันดร์ วาซีเลฟสกีที่มักจะขาดงานเนื่องจากภารกิจที่แนวหน้าบ่อยครั้งในฐานะตัวแทนของ Stavka ผลที่ตามมาคือ Stavka ช่วยให้อันโตนอฟพ้นในตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการเพื่อให้อันโตนอฟสามารถมีสมาธิอย่างเต็มที่ในการเป็นผู้นำในเสนาธิการทั่วไป ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1945 วาซีเลฟสกีได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้บัญชาการแนวรบเบียโลรัสเซียที่ 3 และในที่สุดอันโตนอฟก็กลายเป็นผู้นำเสนาธิการทั่วไปของโซเวียตอย่างเป็นทางการ[5] แม้จะมีบทบาทสำคัญในชัยชนะสูงสุดของกองทัพแดง เขาก็ไม่เคยได้รับตำแหน่งจอมพลแห่งสหภาพโซเวียตใน ค.ศ. 1944 อันโตนอฟรับหน้าที่เป็นหัวหน้าโฆษกในช่วงการประชุมที่กรุงมอสโก, การประชุมที่เมืองยัลตา และ การประชุมที่นครพ็อทซ์ดัม ในการประชุมที่ยัลตาเขาได้กล่าวสรุปแก่พันธมิตรตะวันตกเกี่ยวกับการปฏิบัติการทางทหารที่ร่วมมือกัน[6] และเน้นว่าพันธมิตรสามารถช่วยเหลือโซเวียตผ่านสายการสื่อสารที่มีส่วนทำให้เกิดการโจมตีที่นครเดรสเดินได้อย่างไร[7]หลังสงครามสิ้นสุดลง อันโตนอฟได้เป็นรองผู้บัญชาการทหารสูงสุดและผู้บัญชาการทหารสูงสุดของมนฑลทหารทรานส์คอเคซัส ใน ค.ศ. 1955 เขากลายเป็นหัวหน้าเสนาธิการกำลังผสมแห่งกติกาสัญญาวอร์ซอ เขายังอยู่ในตำแหน่งจนกระทั่งเขาเสียชีวิตใน ค.ศ. 1962[8]

อะเลคเซย์ อันโตนอฟ

ชั้นยศ พลเอกแห่งกองทัพ
ที่เกิด กรอดโน, จักรวรรดิรัสเซีย
งานอื่น เสนาธิการกำลังผสมแห่งกติกาสัญญาวอร์ซอ
บังคับบัญชา มนฑลทหารทรานส์คอเคซัส
การยุทธ์ สงครามโลกครั้งที่สอง
สังกัด กองทัพ
รับใช้ สหภาพโซเวียต
ที่ตาย สหภาพโซเวียต

ใกล้เคียง

อะเลคเซย์ อะเลคเซย์ นีโคลาเยวิช ซาเรวิชแห่งรัสเซีย อะเลคเซย์ เลโอนอฟ อะเลคเซย์ รืยคอฟ อะเลคเซย์ มีรันชุค อะเลคเซย์ สปีรีโดนอฟ อะเลคเซย์ ปายีตนอฟ อะเลคเซย์ อันโตนอฟ อะเลคเซย์ โคซีกิน อะเลคเซย์ ออบโมชาเอฟ